ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า ภายหลังการเปิดเผยรายงานการประชุมเฟด

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า ภายหลังการเปิดเผยรายงานการประชุมเฟด ประจำวันที่ 24 ก.พ. 66

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า ภายหลังการเปิดเผยรายงานประชุมเฟด ประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 ล่าสุด CME FedWatch Tool ชี้นักลงทุนให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 57 ที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งละ 0.25 ในการประชุมเฟด 3 ครั้งถัดไป

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า สภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (24/2) ที่ระดับ 34.65/66 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพฤหัสบดี (23/2) ที่ระดับ 34.58/60 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าภายหลังการเปิดเผยรายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566โดยแม้ว่าคณะกรรมการเฟดส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 สู่ระดับร้อยละ 4.50-4.75 ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดตั้งแต่เดือน ต.ค. 2550

แต่เนื่องจากสัญญาณการชะลอตัวของเงินเฟ้อในขณะนี้ยังไม่เพียงพอในการสร้างความเชื่อมั่นว่าเงินเฟ้อสหรัฐสามารถกลับทิศทางเป็นขาลงอย่างยั่งยืนและเฟดยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป เพื่อควบคุมเงินเฟ้อกลับสู่ระดับเป้าหมายร้อยละ 2 โดยการตึงตัวของตลาดแรงงานยังเป็นปัจจัยสนับสนุนในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเฟดเช่นกัน

นอกจากนี้นายเจมส์ บูลลาร์ด ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาเซนต์หลุยส์ และนางลอเรตตา เมสเตอร์ ประธานเฟดสาขาคลีฟแลนด์ เป็นเจ้าหน้าที่เฟดสองท่านที่สนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ระดับร้อยละ 0.50 และมีความเห็นว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเฟดอย่างแข็งกร้าวมิได้ส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจถดถอยแต่อย่างใด

ข่าวการเงินล่าสุด

ล่าสุด CME FedWatch Tool บ่งชี้ว่านักลงทุนให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 57 ที่เฟดจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งละ 0.25 ในการประชุมเฟด 3 ครั้งถัดไปและจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยขึ้นสู่ระดับร้อยละ 5.25-5.50

สำหรับปัจจัยภายในประเทศ น.ส.สิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนในช่วงก่อนหน้านี้ส่งผลให้ปัญหาหนี้ส่วนใหญ่ยังไม่คลี่คลาย

โดยหนี้ครัวเรือนไตรมาส 3/2565 ยอดหนี้ลดลงร้อยละ 87 ของจีดีพี แต่มีปริมาณหนี้สูงถึง 14.9 ล้านล้านบาท ซึ่งกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล และมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน

โดยระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางอ่อนค่าอยู่ในกรอบระหว่าง 34.50-34.68 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 34.67/68 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับความเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร เปิดตลาดเช้าวันนี้ (24/2) ที่ระดับ 1.0611/12 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร อ่อนค่าจากปิดตลาดเมื่อวันพฤหัสบดี (23/2) ที่ระดับ 1.0645/47 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร นักลงทุนจับตาดูการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อเดือนมกราคมโดยสำนักงานสถิติยุโรปช่วงเย็นวานนี้ (23/02) โดยคาดการณ์ว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปจะขยายตัวที่ระดับ 8.6% ซึ่งมากกว่าเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 8.5% และดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานจะขยายตัวที่ระดับ 5.2% เท่ากับเดือนก่อนหน้า

ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.0588-1.0627 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.0590/94 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันนี้ (24/2) ที่ระดับ 134.79/81 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพฤหัสบดี (23/2) ที่ระดับ 134.90/92 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ นักลงทุนยังคงจับตาดูท่าทีของธนาคารกลางญี่ปุ่นเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงิน ภายหลังการหมดวาระของนายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่นคนปัจจุบัน โดยระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 134.71-134.93 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 134.84/85 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ

ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญสัปดาห์นี้ได้แก่ ดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (23/2) และดัชนีราคาจากรายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (24/2)

สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ -9.5/-9.3 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยงภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ -8..7/-7.5 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ

แนะนำข่าวการเงิน อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.47/48 แกว่งแคบ ไร้ปัจจัยใหม่หนุนทิศทาง

ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.47/48 แกว่งแคบ ไร้ปัจจัยใหม่หนุนทิศทาง

ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.47/48 แกว่งแคบ ไร้ปัจจัยใหม่หนุนทิศทาง

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 33.47/48 บาท/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ เปิดตลาดที่ระดับ 33.50 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.45 – 33.55 บาท/ดอลลาร์ โดยวันนี้เงินบาทไม่มี ปัจจัยใหม่ วิ่งตามแรงซื้อ-ขายทั่วไป ด้านสกุลเงินในภูมิภาคส่วนใหญ่แข็งค่า “ระหว่างวันเงินบาทค่อนข้างนิ่ง วิ่งใน Sideway ไม่มีปัจจัยเสริมให้เงินบาทแข็งค่าหรืออ่อนค่า” นักบริหารเงิน กล่าว สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามคืนนี้ คือ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ของสหรัฐฯ นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.40 – 33.60 บาท/ดอลลาร์

การเงินวันนี้

* ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 130.96/99 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 131.42 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0756/0759 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0716 ดอลลาร์/ยูโร – ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,669.17 จุด ลดลง 1.17 จุด (-0.07%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 63,487 ล้านบาท – สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 3,344.38 ลบ. (SET+MAI) – ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนม.ค.66 อยู่ที่ ระดับ 51.7 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 นับตั้งแต่ พ.ค. 65 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 26 เดือนนับตั้งแต่ ธ.ค. 63 – ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย คาดอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (GDP) ในปี 66 จะขยายตัวได้ 3.7% ในปีนี้ จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามามากขึ้น ซึ่งจะมีส่วนผลักดันให้เกิดการบริโภคและการใช้จ่ายภายในประเทศที่สูงขึ้นอย่างมีนัยยะ สำคัญ – เจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ต่างก็ออกมาแสดงความเห็นไปในทางเดียวกันว่า เฟดจำเป็นต้องเดิน หน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป และควรตรึงดอกเบี้ยที่ระดับสูงไว้เป็นเวลานานกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ เนื่องจากแรงกดดันด้านเงิน เฟ้อยังคงสูงมาก – นักวิเคราะห์ปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตสำหรับเศรษฐกิจจีน หลังจีนผ่อนปรนมาตรการจำกัดด้านโควิด-19 โดยการผ่อน ปรนมาตรการจำกัดดังกล่าวส่งผลกระทบต่อจีนน้อยกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ ขณะเดียวกันกิจกรรมทางธุรกิจก็ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว

ติดตามข่าวสารต่างๆเพิ่มเติมได้ที่นี่ >>> สถาบันการเงินของรัฐ ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 

สถาบันการเงินของรัฐ ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้

สถาบันการเงินของรัฐ ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้

นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ในฐานะประธานกรรมการสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ (The Government Financial Institutions Association : GFA) เปิดเผยว่า จากกรณีที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในการประชุมวันนี้ (25 มกราคม 2566) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 1.25% ต่อปี เป็น 1.50% ต่อปี เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจและเงินเฟ้อโดยให้มีผลทันที ซึ่งเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งที่ 4 ติดต่อกัน รวมปรับขึ้น 1% ต่อปี นับตั้งแต่การปรับขึ้นครั้งแรกในเดือนสิงหาคม 2565 สถาบันการเงินของรัฐยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ที่ระดับเดิมตลอดปี 2565 เพื่อให้ลูกค้าประชาชนได้มีเวลาปรับตัวรับกับภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นในอนาคตและช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายของลูกค้ากลุ่มที่ยังได้รับผลกระทบด้านรายได้จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการแพร่ระบาดของ COVID-19 นั้น

การเงิน

สถาบันการเงินของรัฐ มีความจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ โดยเริ่มมีผลตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 เป็นต้นไป เพื่อให้สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในตลาดและจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากไปแล้วก่อนหน้านี้ รวมถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและสถานการณ์ COVID-19 ที่คลี่คลายลง อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวยังเป็นระดับที่ต่ำกว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และจะไม่ส่งผลกระทบให้เงินงวดของลูกค้าส่วนใหญ่ต้องปรับขึ้นแต่อย่างใด สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ และสมาชิก ยังคงตระหนักถึงผลกระทบต่อลูกค้าและยังคงให้ความสำคัญในการดูแลลูกค้ากลุ่มเปราะบาง ที่รายได้ยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ และได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น จึงยังคงพร้อมให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบผ่านมาตรการความช่วยเหลือของแต่ละสถาบันการเงิน ที่มุ่งเน้นการให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสม ตรงจุด และทันเหตุการณ์ ครอบคลุมทั้งการลดภาระทางการเงิน และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เดิม โดยคำนึงถึงศักยภาพและโอกาสในการปรับตัวของลูกค้าในอนาคต การเสริมสภาพคล่องและการปรับโครงสร้างหนี้ต่าง ๆ ทั้งนี้ สถาบันการเงินของรัฐจะติดตามความคืบหน้าและประสิทธิผลของมาตรการต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด และพร้อมพิจารณาดำเนินการเพิ่มเติมหากมีความจำเป็นในระยะต่อไป โดยสถาบันการเงินของรัฐ พร้อมปฏิบัติตามนโยบายและร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว