“CPAC Green Solution” แท็กทีม 3 นักออกแบบไทย สร้างสรรค์ผลงานผสานนวัตกรรม

“CPAC 3D Printing Solution” พร้อมยกมาให้สัมผัสในงาน “Bangkok Design Week 2023” 4-12 ก.พ.นี้

CPAC Green Solution ผู้นำด้านนวัตกรรมก่อสร้างเพื่อสิ่งแวดล้อม เตรียมแท็กทีม 3 นักออกแบบไทย จาก 2 บริษัทสถาปนิกชื่อดัง ได้แก่ คุณพิพิธ โค้วสุวรรณ จาก SALT AND PEPPER STUDIO, วัทธิกร โกศลกิตย์ และ สุพรรณา จันทร์เพ็ญศรี จาก FATTSTUDIO ARCHITECT มาร่วมสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบ ที่สุดล้ำ ไร้ขีดกำจัด ผ่านนวัตกรรมการผลิตและก่อสร้างจาก CPAC 3D Printing Solution สะท้อนแนวความคิดทางการออกแบบ ‘Complexity is free’ เน้นความพลิ้วไหวและสลับซับซ้อนของลายเส้น ผสมผสานความแข็งแรงและฟังก์ชันการใช้งานของวัสดุคอนกรีต

ออกแบบ

เป็นชิ้นงานเฟอร์นิเจอร์ที่สะท้อนความเป็นกรุงเทพฯ ในเวอร์ชันที่ดีกว่า นอกจากนี้ยังสามารถนำชิ้นงานไปใช้ประโยชน์ต่อในพื้นที่สาธารณะหลังจบการจัดแสดง สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินธุรกิจ ESG4+ ด้าน ‘Go Green’ เปลี่ยนความสูญเสียให้เกิดเป็นประโยชน์กลับคืนสู่สังคม อีกทั้งยังเป็นการต่อยอดด้านการ เป็นมิตรที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม (Nice for Environment) ตามคอนเซปต์ของงาน BKKDW 2023

สำหรับงาน “Bangkok Design Week 2023” (BKKDW 2023) ปีนี้มาในคอนเซปต์ urban‘NICE’zation เมือง-มิตร-ดี เพื่อตอบโจทย์ 6 มิติทางสังคม ได้แก่ มิติทางสิ่งแวดล้อม มิติเรื่องการขนส่งสาธารณะ มิติการผลักดันและอนุรักษ์วัฒนธรรม มิติธุรกิจและเศรษฐกิจ มิติความเป็นอยู่ของชุมชน และมิติความหลากหลายในสังคม

นวัตกรรม “CPAC 3D Printing Solution” จะมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และต่อยอดให้เกิดโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ได้อย่างไรบ้าง ไปร่วมสัมผัสและหาคำตอบกันได้ ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 4 – วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 11.00 – 22.00 น. ณ River City Bangkokซ.เจริญกรุง 24

ติดตามข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจได้ที่นี่ : ศิลปะการออกแบบและเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี แสดงผลงานศิลปนิพนธ์

ศิลปะการออกแบบและเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี แสดงผลงานศิลปนิพนธ์

ศิลปะการออกแบบและเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี แสดงผลงานศิลปนิพนธ์

สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ และ สาขานวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย ภาควิชาศิลปะการออกแบบและเทคโนโลยี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ประชันศิลปนิพนธ์ โชว์ไอเดีย โดยได้รับเกียรติจาก ดร.เกสินี กล่ำอยู่สุข ประธานกรรมการบริษัท ฟินาเล เวดดิง สตูดิโอ จำกัด เป็นประธานเปิดงาน โดยมี รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดี มทร.ธัญบุรี และ ศ.ดร. สมพร ธุรี คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ให้การต้อนรับ ณ หอศิลป์ อาคาร 2 คณะศิลปกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี

นายศุภกิตติ์ บุญศรี สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ เล่าว่า ในปัจจุบันนี้ คนเราหันมาเลี้ยงสัตว์ฟันแทะกันมากมาย แต่บางคนอาจ ไม่คำนึงถึงสภาพอากาศที่อยู่อาศัยของสัตว์ฟันแทะ จึงทำให้เกิด อันตรายต่อสัตว์ได้ จึง ทำการออกแบบและพัฒนาตู้ปรับอุณหภูมิสำหรับหนูแกสบี้ เพื่อป้องกันการเกิดโรคและการตายในการเลี้ยงสัตว์ประเภทฟันแทะ รูปทรงขอนไม้ เพราะว่าสัตว์พันธุ์นี้ชอบอาศัยอยู่ในโพรงต้นไม้ ซึ่งตู้มีขนาด 25 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร ตัวตู้ทำด้วยแผ่นอะคริลิค ทำความเย็นด้วยแผ่นเพลเทียร์ เพื่อช่วยในการสร้างความเย็นและปรับอุณหภูมิ ต่อด้วยพัดลมทั้ง 2 ตัว ช่วยปล่อยความเย็นและระบายความร้อน มีตัวสร้างความอบอุ่นในตัวสัตว์ ทำให้สภาพอากาศและสภาพแวดล้อมคล้ายธรรมชาติมากที่สุด

ข่าวการออกแบบ

นายนนทวัฒน์ ศรสงวน สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย (เอกเครื่องหนัง) เล่าว่า ผลิตภัณฑ์กระเป๋าสัมภาระมอเตอร์ไซค์ ได้แรงบันดาลใจมาจากรูปแบบรอยสักของชนเผ่าพื้นเมืองของประเทศนิวซีแลนด์ชื่อชนเผ่าเมารี ลวดลายรอยสักของชนเผ่าเมารีนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สวยงามโดเด่นและน่าสนใจ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชายที่จะสักเพื่อสื่อถึงความแข็งแกร่ง ใช้เทคนิคการเลเซอร์หนังแท้ ซึ่งการเลเซอร์ทำให้ลวดลายมีความคมชัดมากกว่าวิธีอื่น ๆ การออกแบบกระเป๋าสัมภาระสำหรับรถจักรยานยนต์ ประกอบไปด้วยกระเป๋า 2 ใบ และสายเชื่อมคล้องกระเป๋าแบบปรับได้สำหรับพาดกับใต้เบาะรถจักรยานยนต์ สำหรับผู้ที่ชื่นชอบในการขับขี่รถจักรยานยนต์ และยังสามารถใช้ได้กับรถจักรยานยนต์ทุกรุ่นที่มีถังน้ำมันด้านหน้าอีกด้วย

นางสาวณัฐกมล สายบัว สาขานวัตกรรมออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย (เอกหัตถกรรม) เล่าว่า ได้ทำการศึกษาและเก็บข้อมูลชุมชนจักสานบางเจ้าฉ่า จังหวัดอ่างทอง พบว่าคนสมัยใหม่ไม่รู้จักผลิตภัณฑ์จักสาน จึงได้ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์โคมไฟดอกบัวขึ้นมา โดยได้แรงบันดาลใจจากดอกบัว ใช้เทคนิคจักสานไม้ไผ่ หวายและเส้นพลาสติก โดยนำเอาเส้นพลาสติกมาร่วมกับงานจักสานไม้ไผ่และหวาย เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย เข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ชอบและหลงใหลในงานจักสาน ที่ต้องการผลิตภัณฑ์จักสานในรูปแบบใหม่ ๆ

นายวุฒิภัทร ทองไทย สาขานวัตกรรมออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย (เอกเครื่องปั้นดินเผา) เล่าว่า การปรับเปลี่ยนชุดชงให้มีการดื่มใด้ง่ายขึ้นจากที่ต้องดื่มแบบมีพิธีการเหมือนสมัยก่อน แต่ยังได้รสชาติแบบสไตล์ญี่ปุ่น ได้แนวคิดมาจากดอกซากุระ มาออกแบบชุดชงชาเขียวมัทฉะ โดยดอกซากุระมีความเป็นเอกลักษณ์ที่เฉพาะตัว มีสีไม่ฉูดฉาด สีชมพูและสีเหลืองเป็นจุดเด่น จึงนำดอกซากุระมาออกแบบในงานชุดชงชาเขียวมัทฉะ มีความทันสมัย เรียบง่าย

นางสาวณหทัย ศรีวิชัย สาขานวัตกรรมออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย (เอกออกแบบแฟชั่นและศิลปะสิ่งทอ) เล่าว่า ผลงาน Sweetness of mudmee การเพิ่มความงดงามและความมีเสน่ห์ให้แก่ผ้ามัดหมี่ จากที่ได้ศึกษาในความงามของลวดลายผ้ามัดหมี่นี้ได้นำลวดลายของผ้ามัดหมี่มาออกแบบใหม่ให้เกิดลวดลายที่สวยงามและมีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น จากลวดลายที่ออกแบบมานี้ผู้ศึกษาได้ออกแบบลายให้มีความอ่อนหวานและอ่อนโยน สื่อถึงความสดใสของผู้หญิงผ่านการออกแบบชุดปาร์ตี้ นอกจากจะสวมใส่ออกงานได้แล้วสามารถสวมใส่ได้ในชีวิตประจำวันเพื่อที่ทำให้วันๆนั้นเป็นวันที่พิเศษมากยิ่งขึ้นอีกด้วย