แนะนำวิธีเลือกอะโวคาโด วิธีกินและเมนูจากอะโวคาโดสำหรับเด็ก

แนะนำวิธีเลือกอะโวคาโด วิธีกินและเมนูจากอะโวคาโดสำหรับเด็ก

อะโวคาโดเป็นผลไม้มีไขมัน มีความเข้มข้นของรสชาติ เป็นไขมันที่มีประโยชน์ แม่ ๆ นิยมเลือกอะโวคาโดมาประกอบอาหารให้ลูก ๆ โดยเฉพาะลูกเล็กๆ ที่เริ่มอาหารเสริม

คุณค่าทางโภชนาการ ของ อะโวคาโด

อะโวคาโดเป็นผลไม้ซูเปอร์ฟรุตที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย พ่อแม่หลายคนนิยมให้ลูกกินอะโวคาโด เพราะย่อยง่าย มีกากใย ดีต่อระบบขับถ่ายและภูมิคุ้มกันของลูก อะโวคาโด 100 กรัม ให้พลังงาน 160 กิโลแคลอรี มีไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร วิตามินซี โพแทสเซียม วิตามินและแร่ธาตุ ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์มากมาย

เด็กปฐมวัย

วิธีเลือกอะโวคาโดให้ลูก

วิธีเลือกอะโวคาโด ถ้าจะกินอะโวคาโดทันทีควรเลือกอะโวคาโดที่สุกพร้อมกินได้เลย โดยบีบดูแล้วอะโวคาโดถ้านิ่ม ๆ ก็แสดงว่าสุกพร้อมกินแล้ว แต่หากว่ายังไม่กินทันทีสามารถเก็บไว้ 2-3 วันเพื่อบ่มรอให้สุกได้ โดยเลือกลูกที่ยังแข็งอยู่แล้วห่อหนังสือพิมพ์ไว้ก่อนค่ะ

หรือดูจากขั้วโดยถ้าเด็ดขั้วดู หากเป็นสีน้ำตาลเข้มแสดงว่าแก่ไป หรือถ้ายังเป็นสีเขียวอาจจะอ่อนไป ควรให้ขั้วด้านในเป็นสีเหลืองน้ำตาลถึงจะสุกพอดี

วิธีปอกเปลือกอะโวคาโด

การปอกอะโวคาโดสามารถทำได้ง่ายๆ โดยทั่วไปมักทำใช้มีดผ่าครึ่งโดยรอบผลอะโวคาโด แบ่งแกะออกมาเป็นสองซีกจะพบว่ามีเม็ดขนาดใหญ่อยู่ เอามีดดึงเม็ดออกมาจากนั้นใช้มีดค่อย ๆ ผ่าเป็นเสี้ยวจากทั้งเปลือก แล้วใช้ช้อนตักเนื้อออกมา หรือผ่าเป็นแว่น ๆ ค่อยลอกเปลือกออกก็สามารถทำได้โดยง่าย

ทิปส์การเก็บอะโวคาโด

ถ้าผ่าออกมาแล้วใช้ไม่หมดให้ใช้มะนาวทาที่ผิวอะโวคาโดเพื่อไม่ให้เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและนำพลาสติกแรปปิดเก็บไว้ได้ค่ะ

เมนูอะโวคาโดสำหรับเด็ก ๆ แม่ส่วนใหญ่มักนำมาบดกับผัก หรือไข่ เช่น

  • เมนูอะโวคาโดบดกับฟักทอง
  • เมนูอะโวคาโดปั่นบดกับมะม่วง
  • เมนูอะโวคาโดบดกับไข่แดง
  • เมนูอะโวคาโดบดกับกล้วยราดน้ำนม

หรือถ้าทำเมนูสำหรับเด็กโตหรือผู้ใหญ่ก็สามารถกินสด ๆ ได้เลย หรืออาจจะราดน้ำผึ้ง ใส่ไอศกรีมก็ได้ค่ะ อยากให้ลองชิมสด ๆ กันดูก่อนว่าชอบหรือไม่ และจะนำมาประยุกต์เป็นเมนูอะไรได้ ก็แล้วแต่จะสร้างสรรค์เลยค่ะ

บทความแนะนำ : ทาไปก่อน เดี๋ยวอ่อนเอง ครูกลั้นขำไม่ไหวนักเรียนเสริมสวย

ทาไปก่อน เดี๋ยวอ่อนเอง ครูกลั้นขำไม่ไหวนักเรียนเสริมสวย

ทาไปก่อน เดี๋ยวอ่อนเอง ครูกลั้นขำไม่ไหวนักเรียนเสริมสวย แอบทาแป้งก่อนกลับบ้าน

ความส๊วยยยยย นะน้องนะ เมื่อถึงเวลากลับบ้าน ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีการอยากจะสวย น้องคงอยากจะดูสวย ตอนผู้ปกครองมารับกลับบ้านเลยขอประแป้งหน้าขาวซะหน่อย เรื่องราวความน่ารักในครั้งนี้ถูกแชร์โดยคุณครูผู้ใช้งาน TikTok บัญชี tongtong_thana245245 โดยคุณครูได้แชร์คลิปสุดฮา ของหนูน้อยคนหนึ่งที่ได้แอบไปเติมแป้งสวยๆ ระหว่างรอผู้ปกครองมารับกลับบ้าน ในแบบที่ครูกลั้นขำไม่ไหวแล้ว

เด็ก

โดยคุณครูได้บรรยายคลิปเพิ่มเติมว่า “จะกี่ขวดก็ไม่แคร์ แต่ที่แน่ๆ หน้าหนูต้องขาว ครูพยายามกลั้นขำอยู่ ลู๊กกกกกก ทาก่อนเดี๋ยวอ่อนเอง” ซึ่งจะเห็นได้ว่าหนูน้อยเดินออกมาจากห้องน้ำ ด้วยใบหน้าที่ขาวผ่อง เหมือนใช้แป้งมาทาที่หน้าทั้งขวด เล่นทำเอาคุณครูถึงกับตกใจกันเลยทีเดียว

หลังจากที่คลิปของคุณครูถูกแชร์ออกไปก็เรียกว่ากลายเป็นคลิปสุดไวรัลที่มียอดผู้ข้ามารับชมมากกว่า 2.4 ล้านครั้ง และยอดไลก์มากกว่า 156,000 ครั้งในเวลาเพียงแค่ 1 วัน และยังมีคอมเมนต์อีกมากมายที่เข้ามาแซวความน่ารักของน้องกันอย่างสนุกสนานไม่ว่าจะเป็น “ทั้งผม ทั้งหน้าถ้ากลางคืนได้วิ่งแหละคุณครู”, “ค่อยเดินลูก เดี๋ยวแป้งหลุด”, “ดูกลางวัน ดูน่ารักนะ แต่ถ้ากลางคืน มีวิ่งละ” รวมไปถึง “ลูกสาวมาดามแพม..สโลแกน..เต็มไว้ก่อน เดี๋ยวอ่อนเอง”

ติดตามข่าวสารต่างๆเพิ่มเติมได้ที่นี่ >>> วิธีจับลูกเรอ ต้องลูบขึ้น หรือลูบลง

วิธีจับลูกเรอ ต้องลูบขึ้น หรือลูบลง

วิธีจับลูกเรอ ต้องลูบขึ้น หรือลูบลง ทำกี่นาที ถึงวัยกี่เดือน

วิธีจับลูกเรอ ช่วยให้คุณแม่อุ้มเรอถูกท่า ป้องกันการแหวะนม.. คุณแม่มือใหม่นอกจากจะต้องจัดเตรียมของไปคลอดแล้ว ยังต้องรู้จักวิธีการดูแลทารก ที่โรงพยาบาลจะมีขั้นตอนสอนอาบน้ำทารก พาเด็กเข้าเต้า และสอนให้จับเรอ เพราะการดูดนมของทารกจะทำให้ลมเข้าไปในท้อง เมื่อวางนอนเลย น้ำนมจะไหลออก เลอะร่างกาย

อุ้มเรอ ช่วยให้เด็กสบายตัว

หากคุณอุ้มทารกจับเรอแล้วแหวะ ถือเป็นเรื่องปกติ น้ำนมส่วนเกินเช็ดออกได้ด้วยผ้าอ้อมสะอาดๆ หลังจากนั้นก็ใช้ปลายผ้าอ้อมด้านที่ไม่โดนน้ำนม จุ่มน้ำเช็ดรอบปาก รอบใบหน้า ป้องกันคราบน้ำนม คราบนมเหล่านี้ส่งผลกัดผิวหนังเป็นผื่นได้

4 วิธีอุ้มทารกเรอ
วิธีอุ้มทารกเรอมีหลายท่า คุณพ่อคุณแม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของสรีระเด็กแต่ละคน ก่อนอุ้มเรอ เตรียมผ้าอ้อมรองไว้ที่คาง

1. อุ้มเรอท่านั่งตัก

คุณพ่อคุณแม่สามารถจับทารกเรอท่านี้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ท่านั่งตักเป็นท่าอุ้มเรอเบสิกที่ส่วนใหญ่จะเรอง่าย

วิธีอุ้มเรอท่านั่งตัก

1.1) คุณพ่อหรือคุณแม่ นั่งหลังตรง ขาชิด
1.2) มือข้างหนึ่งทำท่าคล้องเป็นตัว C และวางผ้าอ้อมไว้รองคาง
1.3) ห่อตัวเด็กหรือไม่ห่อก็ได้ วางมือข้างหนึ่งประคองคาง
1.4) มืออีกข้างหนึ่งลูบหลัง ลูบขึ้น หรือลูบลง

2. อุ้มเรอโน้มตัวไปข้างหน้า

ท่าที่เหมาะสมจับเรอทารกอีกท่าหนึ่งคือ ท่าโน้มตัวไปข้างหน้า เหมาะสำหรับเด็กทารกทุกสรีระ และง่ายต่อการประคอง

วิธีอุ้มเรอท่าโน้มตัวไปข้างหน้า

2.1) คุณพ่อหรือคุณแม่ นั่งหลังตรง ขาชิด
2.2) มือข้างหนึ่งทำท่าคล้องเป็นตัว C และวางผ้าอ้อมไว้รองคาง
2.3) วางเด็กไว้แนบลำตัวเรา วางคางไว้ที่มือที่ทำเป็นตัว C โน้มตัวเด็กไปข้างหน้า
2.4) มืออีกข้างหนึ่งลูบหลัง ลูบขึ้น หรือลูบลง

ข่าวเด็กวันนี้

3. อุ้มเรอโน้มเข้าหาตัว

ท่านี้เหมาะสำหรับเด็กแรกเกิด หรือเด็กที่เรอเก่งแล้ว กับคุณแม่ที่ลุกนั่งไม่ค่อยสะดวก ช่วยให้คุณแม่ได้พักผ่อนจากการให้นม แต่ไม่เหมาะสำหรับน้องที่เรอยาก

วิธีอุ้มเรอท่าโน้มเข้าหาตัว
3.1) คุณพ่อหรือคุณแม่ นอนหรือนั่งพิงตรงที่นอนที่มีพนักพิง หรือเก้าอี้ปรับระดับพนักได้
3.2) วางผ้าอ้อมไว้ที่อก
3.3) วางเด็กไว้แนบลำตัว หันหน้าเข้า รองผ้าอ้อม
3.4) ลูบหลัง ลูบขึ้นหรือลูบลง อาจใช้เวลานานกว่าท่าอื่น

4. อุ้มเรอพาดบ่า

ท่าอุ้มเรอพาดบ่า เป็นท่าเบสิกที่เหมาะสำหรับทารกที่มีน้ำหนัก 3.5 กิโลกรัมขึ้นไป หรือ 1 เดือนขึ้นไป เพราะต้องประคองอย่างระมัดระวัง ป้องกันการอุ้มหลุดมือ และท่าอุ้มเรอพาดบ่านี้ได้ผลต่อการไล่ลมสำหรับเด็กทารกทุกช่วงวัย

วิธีอุ้มเรอท่าพาดบ่า

4.1) วางผ้าอ้อมไว้บนไหล่ข้างที่ถนัด
4.2) ยกอกเด็กขึ้นพาดบ่า ให้อกอยู่บนไหล่
4.3) ลูบหลัง ลูบขึ้นหรือลูบลง
4.4) ไม่ควรเดินขย่ม เพราะเด็กอาจหลุดมือได้

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการจับเด็กอุ้มเรอ

จับลูกเรอลูบขึ้นหรือลูบลง
เมื่อลูกดูดนมแล้วการจับทารกเรอ จะลูบขึ้นหรือลูบลงก็ได้ แต่ต้องไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อไล่ลมให้ออกทางเดียว

อุ้มเรอกี่นาที
เด็กแต่ละคนเรอยากหรือง่ายไม่เหมือนกัน การอุ้มเรอกี่นาทีนั้น บางคนลูบไม่นานก็ออก แต่หากนานเกินจนทารกดิ้น หรือดูเหนื่อย ควรเปลี่ยนท่าอุ้มเรอ

ท่าจับเรอทารกแบบไหนถึงเหมาะสม
คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องจับเรอทุกท่า เลือกท่าที่ตัวเองถนัด และปลอดภัยกับลูก การล็อกคอรองคางก็ต้องดูตำแหน่งการหายใจ ไม่ควรล็อกจนลูกหายใจไม่ออก และการพาดบ่าอุ้มเรอก็ควรอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสม หากเดินบริเวณพื้นลื่น เสี่ยงต่อการทำเด็กหลุดมือ

ลูกหลับคาเต้าต้องจับเรอไหม
ไม่ว่าเด็กทารกจะกินนมเสร็จในท่าไหน ต้องจับเรอทุกครั้ง ไม่เช่นนั้นน้ำนมจะแหวะเลอะไม่รู้ตัว

จับลูกเรอถึงกี่เดือน
เด็กทารกแรกเกิดไปจนถึงเด็กทารกที่ยังดูดนมอยู่ควรจับเรอ ส่วนใหญ่เด็กที่รับประทานอาหารบดได้แล้ว วัยสัก 7-12 เดือน ก็จะเรอได้เอง

อุ้มเรอ แต่ลูกไม่เรอ ต้องทำอย่างไร
ในการจับเรอทุกครั้ง อุ้มเรอ แต่ลูกไม่เรอก็เป็นไปได้ เด็กบางคนปล่อยลมทางท้อง ตดออกมา แต่ไม่เรอก็มี

ความสำคัญของการอุ้มเรอ คือ ป้องกันการแหวะนม ช่วยไล่ลมให้เด็กทารก หากวางนอนไปเฉยๆ ก็จะเลอะเทอะ ต้องเปลี่ยนทั้งเสื้อผ้าและผ้าปูเตียง ดังนั้นหลังการดื่มนมทุกครั้ง แม้จะหลับคาเต้าก็ต้องจับเรอด้วย