5 สุดยอดอาหารลดไขมันในเลือด ลดเสี่ยงโรคหัวใจ-เบาหวาน

แนะนำ 5 สุดยอดอาหารลดไขมันในเลือด ลดเสี่ยงโรคหัวใจ-เบาหวาน มาฝากกัน

ไขมันอุดตัน ไขมันในเลือดสูง เป็นสาเหตุของโรคร้ายต่างๆ มากมาย นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องไขมันส่วนเกิน หรือที่พูดง่ายๆ ก็คือ “อ้วน” นั่นเอง เพราะฉะนั้น เราจึงขอแนะนำอาหารดีๆ ที่จะช่วยลดไขมันในเลือด ลดโอกาสเสี่ยงของภาวะไขมันอุดตันได้มาฝากกันค่ะ

1. กระเทียม

กระเทียมช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ยังช่วยลดโอกาสในการเกิดมะเร็งได้อีกด้วย นอกจากนี้กระเทียมยิ่งสด ยิ่งมีคุณค่าทางสารอาหารครบกว่ากระทียมที่สุก หรือผ่านความร้อนนะคะ

2. หอมหัวใหญ่

ช่วยรักษาโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้โดยตรงเลยล่ะ เพราะหอมหัวใหญ่จะช่วยลดระดับไขมันที่ไม่ดี และยังช่วยเพิ่มระดับไขมันที่ดีในร่างกายได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาอาการหวัด คัดจมูกได้อีกด้วย

ข่าวสุขภาพวันนี้

3. ขิง

ขิงถือว่าเป็นสมุนไพรชั้นดีที่มีกลิ่นฉุน ช่วยกลบความคาวของอาหารได้ดี แถมยังช่วยลดความอ้วน ลดคอเลสเตอรอล และยังช่วยปรับระดับความดันโลหิตให้อยู่เกณฑ์ปกติได้อีกด้วย

4. ถั่วเหลือง

ถั่วเหลืองมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งจะช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกายได้ ช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด นอกจากนี้ยังเหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

5. มะเขือพวง

คราวหน้าเห็นมะเขือพวงในแกงเขียวหวาน อย่าเขี่ยออกเด็ดขาด เพราะมะเขือพวงช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ นอกจากนี้ยังช่วยลดความดันโลหิต บำรุงตับ และช่วยขับถ่ายได้คล่องโดยไม่ต้องพึ่งยาถ่ายเลยล่ะ

เห็นพืชผักเหล่านี้แล้ว คราวหน้าจะทานอะไร ลองนึกถึงเมนูที่ใส่อาหารเหล่านี้ดูนะคะ เพราะนอกจากจะมีประโยชน์แล้ว ยังทำอาหารได้อร่อยไม่แพ้อาหารจากต่างประเทศเลยล่ะ

แนะนำข่าวสุขภาพ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : รู้จัก..โรคหัวใจล้มเหลว เลี่ยงรับประทานอาหารอย่างไร

รู้จัก..โรคหัวใจล้มเหลว เลี่ยงรับประทานอาหารอย่างไร

รู้จัก..โรคหัวใจล้มเหลว เลี่ยงรับประทานอาหารอย่างไร

ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นภาวะการทำงานผิดปกติของหัวใจ ที่ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างพอเพียงต่อความต้องการ รวมถึงไม่สามารถรับเลือดเข้าสู่หัวใจได้ตามปกติ แม้ร่างกายจะอยู่ในสภาวะพักผ่อน

รู้จัก..โรคหัวใจล้มเหลว

กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคทรวงอก เตือนผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีโซเดียมน้อย เค็มน้อย เพราะหากทานอาหารที่มีโซเดียมมาก เค็มมาก อาจส่งผลให้เกิดภาวะน้ำคั่ง น้ำท่วมปอด ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว ทำให้อาการที่เป็นอยู่มีความรุนแรงมากขึ้นและมีโอกาสเสียชีวิตได้

ควบคุมปริมาณโซเดียมในอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน
โซเดียม คือแร่ธาตุซึ่งมีหน้าที่หลักในการรักษาสมดุลของน้ำและอิเลคโตรไลท์ (Electrolyte) ในร่างกาย และควบคุมระดับความดันโลหิต โดยร่างกายของเราสามารถขับน้ำและแร่ธาตุ รวมถึงโซเดียมได้ 3 ทาง ได้แก่ ปัสสาวะ เหงื่อ อุจจาระ โดยปริมาณโซเดียมสูงสุดที่ร่างกายควรได้รับและไม่ทำให้เกิดอันตราย อยู่ที่ 2,400 มิลลิกรัม หรือประมาณ 1 ช้อนชา ในหนึ่งวัน

โซเดียมอยู่ในอาหารประเภทไหนบ้าง
โซเดียม มักอยู่ในเกลือและสารให้ความเค็มต่าง ๆ เช่น น้ำปลา ซีอิ๊ว กะปิ นอกจากนี้โซเดียมอาจจะอยู่ในอาหารที่ไม่มีรสชาติเค็มอีกด้วย เช่น เบเกอรี่เเละขนมอบ ที่มีส่วนประกอบ อาทิเช่น ผงฟู เป็นสารที่ทำให้ขนมปังขึ้นฟู โซเดียมอัลจิเนต ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อเจลให้ความข้นหนืด ผงกันบูด เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา เป็นต้น

อันตรายจากการรับประทานอาหารรสเค็มจัดต่อเนื่อง
การรับประทานอาหารรสเค็มมากไป ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้ความดันโลหิตสูง หัวใจทำงานหนักขึ้น และอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหลอดเลือดในสมองแตกหรืออัมพาตได้ ดังนั้น การจำกัดหรือควบคุมปริมาณโซเดียม สามารถช่วยควบคุมและป้องกันความดันโลหิตสูง รวมทั้งป้องกันการเกิด ภาวะหัวใจล้มเหลว ลดภาวะบวมน้ำ ในผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคไตได้

อาหารที่ควรลด/เลี่ยง เพื่อควบคุมโซเดียม
อาหารแปรรูปต่าง ๆ จำพวกอาหารกระป๋องทุกชนิด
อาหารหมักดอง ผัก/ผลไม้ดอง
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป ขนมกรุบกรอบ
เนื้อเค็ม ไข่เค็ม ปลาเค็ม ปลาร้า อาหารรสเค็มอื่น ๆ
เค้ก คุกกี้ แพนเค้ก ขนมปัง ที่มีผงฟูเป็นส่วนประกอบในการทำอาหาร
เครื่องดื่มเกลือแร่
เลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และส่งผลดีต่อผู้ป่วย
อาหารที่ควรเลือกรับประทานและส่งผลดีต่อผู้ป่วย ได้แก่ อาหารที่ผ่านการแปรรูปน้อยที่สุด หรือประกอบอาหารทานเอง ซึ่งทำให้เราสามารถควบคุมปริมาณเครื่องปรุงเองได้ อาหารที่มีปริมาณโปแตสเซียมสูง เช่น ผักใบเขียวและผลไม้ และที่สำคัญควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

นอกเหนือจากการควบคุมโซเดียมในอาหารแล้ว การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอต่อวัน ก็ยังเป็นวิธีพื้นฐานที่จะช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดีได้ รวมถึงการเข้าพบแพทย์ในโรงพยาบาลเพื่อตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ควรทำ เพื่อเป็นการดูแลตัวเองจากภาวะหัวใจล้มเหลวนั่นเอง